ไทย เอสพีเอส นิวส์ เป็นเว็บข่าวเพื่อมวลชน เจาะลึก ทันเหตุการณ์ โดยสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย
สะพานดาว
สายมูห้ามพลาด เปิดประวัติ โหราฯธนานันท์ เทพศรียันตรา ( หมง )จากเส้นทางนักข่าวสู่ผู้คุ้มกฏศาสตร์ตราวิชามหาเทพ แห่งพิพิธภัณฑ์เทพศรียันตรา ทั้ง3 แห่ง
(อ่านแล้ว 5548 ครั้ง)
Share on Google+

 

ทั่วประเทศไทยนั้นเต็มไปด้วยวัดอารามมากมาย มีพระพุทธรูปปางต่างๆเพื่อเป็นสถาปัตย์ตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ชาวพุทธกราบไหว้ มีทั้งพระพุทธรูปเก่าโบราณและสร้างใหม่เป็นที่โดดเด่นสร้างชื่อในแต่ละวัด เฉกเช่นเดียวกับเหล่าทวยเทพสายพราหมณ์ – ฮินดู ที่มักจะอยู่ควบคู่กับสายพุทธของบ้านเรา ในวัดต่างๆเรามักจะพบรูปปั้นสิงศักดิ์สิทธิของศาสนาฮินดูประดิษฐานอยู่แทบทุกวัด ให้ผู้คนกราบไหว้ตามความเชื่อ ความศรัทธา และในพุทธประวัติเองในพระไตรปิฏกก็มีให้เห็นว่า ศาสนาพุทธ และ พราหมณ์ ฮินดูนั้นมีความเกี่ยวข้องกันมาอย่างไร จนปัจจุบันนี้สิ่งศักดิ์สิทธิ รวมถึงผู้ที่นับถือ มีความเชื่อความศรัทธา มักจะถูกเรียกว่า มูเตลู หรือ สายมู ที่เป็นภาษามาจากอินโดนีเซีย

ย้อนกลับไปเมื่อราวเกือบยี่สิบปีก่อน นักข่าวสายอาชญากรรมท่านหนึ่ง คือ นายทนง ทองตุ๋ย หรือ ที่เพื่อนพี่น้องรู้จักกันในนาม อ.หมง คนข่าวนครบาล เป็นผู้หนึ่งที่มีความชอบ ความศรัทธาทั้งในศาสนาพุทธ และสิ่งศักดิ์สิทธิเร้นลับจนได้พบเจอปาฏิหาริย์มากมาย จนได้เริ่มผันชีวิตตนเองจากสื่อมวลชน มาเป็นผู้ประกอบพิธีพราหมณ์แห่งพิพิธภัณฑ์เทพศรียันตราสาขาแรกที่บางแค โดยถูกตั้งฉายาทางโหราฯธนานันท์ เทพศรียันตรา ซึ่งแน่นอนว่าใครๆต่างคุ้นชื่อ ทั้ง โหราฯ ธนานันท์ อ.ทนง หรือ อ.หมง นครบาล กันทั่วหน้า  แต่ในวันนี้ทางทีมบรรณาธิการจะได้เปิดเผยประวัติอย่างเป็นทางการให้ได้ทราบทั่วกันในที่มีมาแห่งผู้นำความศักดิ์สิทธิอันดับต้นๆของประเทศไทย

 

นายทนง ทองตุ๋ย หรืออาจารย์หมง นครบาล เกิดวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2513 ปัจจุบันอายุ 52 ปี เป็นบุตรของนาย ประยูร ทองตุ๋ย และ นางจำรัส ชำนาญ (ได้ถึงแก่กรรมทั้งสองท่าน ) มีพี่น้อง 4 คน ซึ่งนายทนงเป็นพี่คนโต ส่วนน้องคนเล็กได้เสียชีวิตลงในปี 2564

แม้บิดาเป็นชาวเล จว.ชลบุรี ส่วนมารดาเป็นชาวสวน จว.ชุมพร แต่นายทนง ได้เกิดที่ภูเก็ต ก่อนที่จะไปเติบโตที่ จว.ชุมพร และเมื่อถึงวัยเกณฑ์ทหาร ก็ตั้งใจจับใบแดง ดำ ซึ่งผลปรากฏได้ใบแดงผลัด 2 ทหารเรือ ประจำการที่ กองพันสารวัตรทหารเรือวังเดิม กรุงเทพฯ จนครบกำหนด 2 ปี ได้ออกมาสู้ชีวิตหากิน ประกอบสัมมาชีพต่อที่ กรุงเทพ โดยนายทนง นั้นไม่เคยเกี่ยงงานไม่ว่าจะงานหนักงานเบา ทั้งจะเป็นพนักงานบริษัท รับจ้างทั่วไป ค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำมาแล้วทุกอย่าง ด้วยปณิทานที่แน่วแน่ในคำว่า ไม่เคยย่อท้อ ชื่อสัตย์ ขยันอดทน ทำทุกอย่าง แม้อาจจะมีล้มลุกคลุกคลานบ้าง ก็ยังยิ้มสู้ และไม่มีอะไรทำให้ผู้ชายคนนี้หมดกำลังใจได้

อยู่วันหนึ่งได้ถูกชักชวนจากผู้สื่อข่าว นสพ.คดีเด็ด ฉายาว่า อ้อด พันลี้  ซึ่งอ้อด พันลี้ เกิดถูกอกถูกใจ และเห็นแววนายทนง จึงถามว่าอยากเป็นสื่อมวลชน เป็นนักข่าวไหม สมัยนั้นนายทนง ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพนี้มากนัก แต่ด้วยความไม่เคยเกี่ยงงาน มีงาน มีเงิน ทำหมด และด้วยใจชื่อนายทนงเลยตอบไปว่า อยากเป็นครับ จนเป็นก้าวแรกสู่การเป็นนักข่าวตระเวนของ นสพ.คดีเด็ด

ต่อจากนั้นเมื่อเช้ามาเดินบนถนนสายสื่อมวลชนแล้วได้เรียนรู้ ได้ศึกษา วิธีการด้านทำข่าวทุกรูปแบบด้วยครูพักลักจำ ทั้งเขียนข่าว ถ่ายภาพ และอีกหลายอย่าง แต่ที่นายทนงจะชื่นชอบที่สุดเห็นทีคงหนีไม่พ้นสายอาชญากรรม ทั้งด้วยลีลาท่าทางส่วนตัว ที่ทำงานแบบถึงลูกถึงคน ดุดเด็ดเผ็ดมัน เหตุเกิดขึ้นที่ไหนเพียงแว้ปเดียวนายทนงจะไปอยู่ที่ตรงนั้นก่อนใคร จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่พรรคพวกสายงานอาชญากรรม และเป็นที่มาของฉายา อ.หมง คนข่าวนครบาล

กระทั่งฝีมือลือทั่วไปถึงหูผู้ใหญ่ของวงการข่าวอาชญากรรมท่านหนึ่ง คือ นายไพโรจน์ เทศนิยม นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้มองเห็นความขยัน ความอดทน จึงได้เมตตาชักนำเข้าสู่วงการที่วีจานดำ พร้อมถูกท่านสอนสั่งเคี่ยวเข็ญให้นายทนง มีความสามารถเพิ่มขึ้น และในที่นี้เองที่ นายทนง ได้ฝึกการเป็นนักเขียนบท เป็นพิธีกร เมื่อเริ่มถึงจุดอิ่มตัวในสายงานอาชญากรรมและหันมองงานข่าวด้านสายอื่นๆ จึงถูกชักชวนจาก พี่จิม ช่อง7 ให้มาร่วมทีมเป็นพิธีกรภาคสนาม"รายการสัมผัสที่ 6" ทางช่องจานส้ม จนมีโปรไฟล์เป็นที่รู้จัก ของคน ในวงการทำข่าว มีหน้าตาทางสังคม โดยในระหว่างนั้นเองที่ นายทนง เริ่มเรียนรู้ถึงศาสตร์สายฮินดูมากขึ้น เพราะจากเดิมที่เป็นคนนั่งสวดมนต์ นั่งกรรมัฎฐาน และชื่นชอบในศาสตร์ความลี้ลับอยู่แล้วจึงทำให้เกิดปิติและเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง

 

อาจจะเพราะวาสนาหรือคำสั่งฟ้าให้เส้นทางนักข่าวนักเขียนต้องมาบรรจบกับเส้นทางสร้างบุญบารมี จึงได้มีโอกาสมาทำข่าวเปิดตัวกับทาง พิพิธภัณฑ์เทพศรียันตราพระราม2 จากการเชิญของเฮียพรหม เจ้าของ นิตยสารพระสุวรรณภูมิ ผู้ใหญ่ในวงการที่เคารพอีกท่านหนึ่ง

ตั้งแต่ในวันเปิดตัวก็ได้รับความเมตตาจากคุณอานนท์ แก้วมโนรมย์ เจ้าของผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เทพศรียันตรา อยู่บ่อยครั้ง จนเป็นที่สนิทไว้เนื้อเชื้อใจให้โอกาส นายทนง เข้ามาเป็นที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนที่เข้ามาสักการะองค์มหาเทพต่างๆ ในต้านต่างๆ ซึ่งทาง พิพิธภัณฑ์ทพศรียันตรา เป็นสถานที่เปิดให้ทุกท่านเข้ามาเยี่ยมชมองค์เทพต่างๆ ได้ฟรี แต่ยังไม่มีอาจารย์เจ้าพิธีกรรมที่อยู่ไว้คอยให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการปฏิบัติบูชาที่ถูกต้อง จนกระทั่ง คุณอานนท์ แก้วมโนรมย์ ได้ถึงแวว หรืออาจเป็นเพราะเสียงกระซิปจากฟากฟ้า จึงเลยส่งตัว นายทนง ไปศึกษาเล่าเรียนวิชาจากสถาบันโหราศาสตร์วิทยา ในสาขา พิธีกรรมแบบโบราณของไทย ณ โรงเรียนวัดอัมพวา ซ.จรัญสนิทวงศ์ 22 เขต บางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยมีอาจารย์ อธิรญา โหรราหู / พ่อครูศิริโชค รัตนศรีพรหมณ์ / อาจารจักรกฤช บัณฑิตโหร และ ครูในสายต่างๆ อีกหลายท่านที่ไม่ได้กถ่าวนาม จนสำเร็จหลักสูตรรุ่น 3 เพชรไพฑูรย์พิธีกรรม และได้ออกภาคสนามเป็นเจ้าพิธีกรรมทั้งงานเล็ก งานใหญ่ ระดับประเทศมากมาย จนได้ฉายาโหราฯธนานันท์ เทพศรียันตราทั้ง3 แห่ง  อย่างเต็มตัว ส่วนที่มีความประทับใจมากที่สุด ก็คือ เป็นส่วนหนึ่งของทีมโหราจารย์ ผู้ประกอบพิธีการบวงสรวง ถวายส่ง องค์หลวงปู่ศรีสุทโธนาคราช ภาคถือศีล ณ วังนาคินทร์ คำชะโนด จว.อุดรธานี

หลังจากการเป็นโหราฯธนานันท์ เทพศรียันตรา อย่างเต็มตัว ได้ถูกเชิญไปประกอบพิธีหลายต่อหลายงาน ได้รับเกียรติไปร่วมเป็นโหราจารย์ผู้ช่วยกับทาง"พ่อตัน"ภารตะมนต์เทวา" ในการประกอบพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ สร้าง องค์หลวงพ่อตาหวานยิ้มหวาน ปางไสยาสน์พระนอน ณ วัดคู่สร้าง อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

ซึ่งบนถนนเส้นทางของการเป็นโหราฯ ทำให้อาจารย์ทนง ได้พบกับกัลยานิมิตรที่ดีหลายท่าน และคณะศิษย์มิตรศรัทธาต่างๆ จากทั่วประเทศได้ช่วยเหลือผู้คนที่ตกทุกข์ จากโรคเวรกรรมต่างๆ

 

จนวันหนึ่งได้รับเกียรติจากคุณจ๋า จตุจักร เจ้าของ นิตยสารดาราอินไซด์ ให้เป็นหนึ่งในทีมโหราจารย์ผู้ประกอบพิธีบวงสรวง 3 วาระในการขอจัดสร้างถ้วยรางวัล"นาคราช"อวอร์ด ครั้งที่ 1 จนกระทั่งได้ขึ้นไปรับถ้วยอันทรงเกียรติ รางวัลนาคราช ในฐานะ ผู้ประกอบศาสนพิธีกรรมเพื่อสังคมดีเด่นแห่งปี 2559  นับเป็นจุดเริ่มต้นการได้รับรางวัลต่างๆมากมายในทุกๆปี  โดยที่เจ้าตัวเองก็คาดไม่ถึงเช่นกัน โดยรางวัลทั้งหมดที่ได้รับ ดังนี้

(1.) รางวัลนาคราช"ครั้งที่1 ในฐานะผู้ประกอบศาสนพิธีกรรมเพื่อสังคมดีเด่นแห่งปี 59

(2.) รางวัลเทวะจตุโลกบาล ต้นแบบคนดีสี่ทิศ ครั้งที่1 ปี 61

(3.) รางวัลอินทรจักร ครั้งที่ 2 สาขาโหราจารย์ ที่ส่งเสริมงานด้าน สังคมดีเด่นแห่งปี 62

(4.) รางวัลธรรมจักรมณีนาคราช คนดีเทิดไท้แด่องค์ราชัน เมืองสยามของแผ่นดินยุคศิวิไลซ์ สาขาทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ ปี 63

(5.) รางวัลพระศิวะนาคราช ครั้งที่ 1 ปี 65 สาขาบุคคลดีเด่นเป็นต้นแบบคนดี

และในวันที่ 15 ต.ค.2565 ที่จะถึงนี้ โหราฯ ธนานัท์ เทพศรียันตรา ( หมง ) หรือ อ.ทนง ทองตุ๋ย ได้ถูกคณะกรรมการคัดเลือกและ เสนอชื่อผู้เข้ารับรางวัลเกียรติยศ และ รับรางวัล  ในสาขาผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมดีเด่น ประจำปี พุทธศักราช 2565 ในงานกรศรีคณปติ ที่ โรงแรม มณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ เป็นรางวัลที่ 6 อีกด้วย

 

 

ซึ่งส่วนตัวโหราฯธนานันท์ เทพศรียันตรา ( หมง ) หรือ อาจารย์ทนง ทองตุ๋ย แม้จะเป็นผู้ประกอบพิธีพราหมณ์ แต่ยังคงเป็นชาวพุทธและนับถือครูบาอาจารย์พระอริยสงฆ์ เกจิหลายท่าน และหนึ่งในครูบาอาจารย์ที่ นายทนง เคารพมากที่สุดนั้นก็คือ หลวงปู่แวนกาย พนฺธสาโร แห่งวัดอำปึล อ.โคกมอน จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ท่านเป็นพระสงฆ์ชาวกัมพูชา ที่มีเมตตาและ วิชาอาคมซึ่งสำเร็จวิชชาอาคมจากบิดาอายุ18 ปี ก่อนมาบวชตั้งแต่อายุ 20 ปี จนปัจจุบัน ซึ่งชาวบ้าน ทหาร กัมพูชา รวมถึงพุทธศาสนิกชนชาวไทยต่างให้ความเคารพ เลื่อมใส ทั้งในกิจวัตร และ วิชาความขลังของท่าน โดยอาจารย์ทนง ทองตุ๋ย นับถือศรัทธาท่านมาหลายสิบปี นับเป็นลูกศิษย์อันดับต้นๆในเมืองไทยที่ได้ความเมตา จากหลวงปู่ลงทองพร้อมทั้งการใช้มีดจารย์ลงอักขระ ซึ่งกล่าวกันว่าผู้ใดที่หลวงปู่ ลงทองให้ไม่มีตายเพราะถูกกระสุนปืนหรือเหยียบกับระเบิดสักคน แม้แต่วัว ควาย ก็ตาม

ปัจจุบัน โหราฯ ธนานันท์ เทพศรียันตรา หรือ อ.ทนง ทองตุ๋ย จะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมของพิพิธภัณฑ์เทพศรียันตราแล้ว ยังดำรงค์ตำแหน่ง บรรณาธิการข่าวของ นสพ.เรื่องจริงผ่านเลนส์ และเป็นที่ปรึกษาของสำนักข่าวหลายๆสำนักด้วย

โดยบทความทิ้งท้ายนี้เป็นคำกล่าวของ โหราฯ ธนานัท์ เทพศรียันตรา ( หมง ) หรือ อ.ทนง ทองตุ๋ย ว่าตนเองไม่เคยคิดจะไปแข่งขันอะไรกับใคร ไม่เคยคิดทำอะไรเพื่อหวังผลตอบแทนหรือรางวัลใดๆ เราทำในสิ่งที่เรารัก เราทำเพื่อช่วยสังคม ช่วยเพื่อนมนุษย์ อยากให้ทุกคนทุกท่านได้รับความสุขเหมือนที่ตนเองได้รับ อยากให้ทุกท่านได้รับโอกาสดังเช่นตนเองเคยได้รับ ซึ่งที่ผ่านมาการใช้ชีวิตของตนเองนั้นมีคติสั้นๆที่ใช้กับตัวเองและสอนทุกคนเสมอ นั่นคือ คิดดีทำดี ใครทำใครได้ เป็นผู้ให้  ก่อนเป็นผู้รับ ฉันนั้นเสมอ  เป็นคำสอนแบบง่ายๆที่บอกกับลูกศิษย์ได้เข้าใจง่าย ได้ไปปฏิบัติจริง ปฏิบัติถูกต้อง กับตนเองต่อไป

Share on Google+
หนังสือพิมพ์ออนไลน์
เศรษฐกิจในประเทศ