ไทย เอสพีเอส นิวส์ เป็นเว็บข่าวเพื่อมวลชน เจาะลึก ทันเหตุการณ์ โดยสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย
สามารถ เจนชัยจิตรวนิช เผย Forex 3D ถึงการคุ้มครองภาครัฐของต่างประเทศ พร้อมชงกฎหมาย เพิ่มเจ้าภาพรับเรื่อง คืนเงินผู้เสียหายเร็ว เพิ่มโทษผู้หลอกลวง
(อ่านแล้ว 231 ครั้ง)
Share on Google+

วันที่ 22 ก.ย.2565 เวลา 08.00 น.นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย ได้ถูกเชิญมาร่วมพูดคุยในเรื่อง กลโกงแชร์ลูกโซ่ Forex 3D ต่อเนื่องจากครั้งก่อน ทางรายการฟ้าใส By ศิริวรรณ ช่องรายการวิทยุกองทัพอากาศ ที่มี คุณปุ้ม ศิริวรรณ นพรัตน์ เป็นผู้ดำเนินรายการโดยทั้งสองได้พูดคุยต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วในเรื่องกฏหมายประเทศไทยที่คนสมัยรัชกาลที่ 5 ฟื้นขึ้นมาคงสงสัยว่าทำไมกฏหมายยังคงแทบไม่เปลี่ยนแปลง

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช  กล่าวว่า ปัญหาการฉ้อโกงประชาชนนับเป็นปัญหาใหญ่ในทุกประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศล้วนมีกฎหมายคุ้มครองประชาชน ตนเองขอย้อนความที่เคยเกริ่นไว้ในเรื่อง ถ้ามีคนในสมัยรัชกาลที่5 ฟื้นขึ้นมา หรือย้อนอดีตกลับมาได้ หรือระลึกชาติได้เขาคงตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยี่ต่างๆที่สมัยนั้นไม่มี แต่พอมาเปิดอ่านกฎหมายประเทศไทยในปัจจุบัน เขากลับเข้าใจได้เพราะมันเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง กฎหมายประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา มีการใช้ประมวลกฎหมายอาญาเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 5

ในเรื่องฉ้อโกงประชาชนเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ในสมัยโบราณคงไม่มีการฉ้อโกงแบบแชร์ลูกโซ่ เพราะแชร์ลูกโซ่พึ่งเกิดมาสมัยแม่ชม้อย แต่ในสมัยนั้นเป็นการปล้นสะดมกันแทน  ตนเองขอย้อนกลับไปในสมัยอยุธยา ถ้ามีการปล้นสะดมคือตัดมือ ตัดแขน ถ้าผู้ร้ายหนีไปให้จับลูกเมีย ญาติ เพื่อน มาขังแทน ที่เขาเรียกกันมาติดปากว่า คุก ตะราง คือ ตะรางเอาไว้ขังเมียนักโทษ คุกเอาไว้ขังนักโทษ นั่นคือสมัยก่อนนั้นกฎหมายมีบทลงโทษที่รุนแรง ทั้งที่มีประชากรน้อยกว่าสมัยนี้ กลับกันสมัยนี้ประชากรเยอะกว่ามากแตกฏหมายเบาบางลง ให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้ต้องหาเยอะเกินไป เช่นถ้าศาลไม่มั่นใจว่าผู้ต้องหากระทำผิดให้ยกฟ้องได้ 

ส่วนกระบวนการยุติธรรมในคดีแชร์ลูกโซ่ ถ้าผู้เสียหายถูกหลอกลวงไปแล้ว ยุติธรรมใช้เวลานานตัวทรัพย์ใช้เวลาคืนช้า กล่าวคือ คดีฉ้อโกงประชาชน เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เช่นถ้าผู้เสียหายถูกฉ้อโกงประชาชนไป 1 ล้านบาทแล้วทางหน่วยงานรัฐไม่ได้ยึดทรัพย์คืนให้เลย ศาลตัดสินให้ทางโจทย์ชดใช้เงินคืนก็จะกลายเป็นประมวลกฎหมายแพ่ง หมายถึง โจทย์จะกลายเป็นเพียงเจ้าหนี้ของผู้ต้องหา และตามกฎหมายเจ้าหนี้ต้องไปตามสืบทรัพย์ลูกหนี้เอง ซึ่งบ้านประเทศไทยเรากำลังใช้กฎหมายแพ่งและพานิชย์เข้ามาดำเนินการ ซึ่งกฎหมายนี้ควรใช้เฉพาะผู้ทำการค้าด้วยความสุจริตร่วมกัน แต่คดีแชร์ลูกโซ่นั้นเป็นการทุจริตตั้งแต่ต้น บางคนชนะคดีแต่สืบทรัพย์ไม่ได้ก็ไม่ได้เงินคืน อธิบายง่ายๆคือผู้เสียหายชนะคดีศาลสั่งชดใช้เงิน พอสั่งให้คืน ผู้เสียหายต้องไปขอหมายบังคับคดีจากศาลเพื่อให้กรมบังคับคดีในการสืบทรัพย์ แต่หลักการจริงผู้เสียหายต้องไปสืบทรัพย์เองเมื่อเจอทรัพย์ก็ไปแจ้งให้กรมบังคับคดีมายึดทรัพย์นั้น ซึ่งเหมือนกับกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่แบ่งเป็นคดีแพ่ง และ อาญา มันจึงทำให้ผู้เสียหายหลายรายได้เงินคืนยาก ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บอกชัดเจนในการคุ้มครองประชาชน เช่นถูกโกง ทางรัฐต้องคุ้มครองเรา

ทีนี้บ้านเรามีกฎหมายฟอกเงิน ที่จะช่วยคืนทรัพย์ให้ผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่ได้ แต่คดีแชร์ลูกโซ่ หรือ คดีฉ้อโกงประชาชนนั้น เป็นเพียง 1 ใน 28 มูลฐานประกอบของคดีฟอกเงิน คือ นอกจากคดีแชร์ลูกโซ่แล้ว ปปง.ต้องทำงานอีก 27 คดี แล้ว เจ้าหน้าที่ ปปง.มีจำนวนไม่ถึงพัน ก็คงไม่มีเวลามาสืบคดีแชร์ลูกโซ่ ผู้เสียหายจึงยังเคว้งอยู่จำนวนมาก และถึงแม้จะเจอทรัพย์ก็ไม่สามารถคืนได้ทันที สมมุติเจอทรัพย์ของเจ้าหนี้ ก็จะสั่งอายัดทรัพย์นั้นพร้อมประกาศคุ้มครองสิทธิ์ตามมาตรา 49 วรรคท้าย พรบ.ป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อส่งไปที่อัยการและศาล ซึ่งศาลก็มีศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์และศาลฏีกา ตามระบบ ซึ่งใช้เวลานานมาก

 

 

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช  กล่าวต่อว่า ตนเองลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านในเรื่องแชร์ลูกโซ่มานานนับสิบปี ต้องเจอคนที่ลำบาก เป็นทุกข์เยอะมาก ตนตนเองเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้เสนอก พรบ.กฏหมายใหม่คือ พรบ.ปราบปรามแชร์ลูกโซ่เข้าสู่สภา โดยผ่าน ส.ส.ช่วยเสนอร่างนี้เข้าไป โดยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก้ได้ลงนามรับลองและทำความเห็นไปทุกหน่วยงานว่าควรมีกฏหมายใหม่ไหม ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตอบรับกลับมาว่า ควรมี แต่หน่วยงานอื่นตอบกลับมาว่ามีกฏหมายเดิมอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องออกกฏหมายใหม่ ทั้งที่ตนเองลงพื้นที่ 4 จังหวัด พร้อมอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ ไปทำประชาวิจารย์ ตามรัฐธรรมนูญปี60 มาตร 77 ซึ่งชาวบ้านอยากได้กฎหมายใหม่ เพราะโทษเบาเกินไป ติดคุกแค่ 20 ปี แถมติดจริงไม่ถึงด้วย ในขณะนั้นตนเองได้ไปราชการที่ประเทศจีนได้ร่วมพูดคุยกับคณะรัฐมนตรีจีนในเรื่องยาเสพติด ตนเองจึงถามไปว่า ท่านครับที่จีนมีปัญหาการฉ้อโกงประชาชนแบบคดีชม้อยไหม และมีโทษหนักไหม ซึ่งคดีแม่ชม้อยมีผู้เสียหายนับหมื่นคน ความเสียหายหลายพันล้านบาท ทางรัฐมนตรีที่จีนบอกว่าถ้าคดีแบบนี้ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิ์ออกจากคุกอีกเลย และเมื่อตนเองถามว่าและมีการยึดเงินคืนให้ผู้เสียหายไหม ทางรัฐมนตรีจีนตอบว่า ถ้าเป็นการโกงทางออนไลน์ยึดทรัพย์ได้คืนเลย แต่ถ้าเป็นสแกรม หรือชักชวนลงทุน ไม่กี่เดือนก็ได้คืน และเมื่อเขารู้ว่าทางชม้อยติดคุกเท่าไหร่เขาตกใจและรีบบอกให้ข้าราชการไทยมาดูงานที่ประเทศจีนด่วน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆประเทศที่มีการคุ้มครองประชาชน เช่นอังกฤษ เมื่อประชาชนถูกโกงทางรัฐจะรับผิดชอบช่วยเยียวยาก่อนแล้วไปบีบกับผู้ร้ายอีกทีหนึ่ง

ฉ้อโกงประชาชนเป็นการหลอกผู้เสียหาย เอาข้อมูลเท็จเอาธุรกิจไม่จริงมาหลอกให้ลงทุนสุดท้ายผู้เสียหายเงินหมดจะทำยังไง คดียูฟันทรัพย์ที่ถูกยึดเช่นรถเฟอร์รารี่ถูกเก็บไว้จนจะพังไปหมดแล้ว  ซึ่งคดี Forex 3D นั้นก็เข้าบทข้างต้นที่กล่าวมา เหมือนกันซึ่งต้องรอเป็น 10 ปี ตามกระบวนการตามข้างต้น

Forex 3D คนกำกับดูแลคือธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าบริษัทไหนได้รับอนุญาตการค้าขายเงินตราต่างประเทศ ซึ่ง พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เพื่อปกป้องประชาชน ในมาตรา4 ได้กำหนดว่า ผู้ใดที่ชักชวนลงทุนโดยให้ค่าตอบแทนในอัตราสูงเกินกว่าสถาบันทางการเงิน และธุรกิจนั้นไม่มีอยู่จริงถือว่าเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งกฎหมายนี้รัฐมนตรีมหาดไทยกับรัฐมนตรีการคลังกำกับดูแล เพราะมหาดไทยคุมตำรวจ คุมปกครอง คุมผู้ว่าฯจังหวัด ส่วนคลัง คุมสรรพากร คุมคลังจังหวัด โดยในอำนาจตามมาตร7 นั้นสามารถเรียกผู้ชักชวนคนมาลงทุนมาตรวจสอบซึ่งถ้าเราใช้อำนาจตาม พรก.ฉบับนี้จริงๆ Forex 3D ไม่สามารถหลอกลวงประชาชนได้ ซึ่งต้นกำเนิดของ Forex 3D อยู่ที่กรุงเทพ สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 7 สั่งบุก รื้อค้น ยึดอายัดทรัพย์ได้ทันที ซึ่ง สศค. หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ดูแล ตนเองไม่ทราบว่า สศค.มีกำลังพลดูแลเรื่องนี้แค่ไหน เพราะเท่าที่เห็นมีเจ้าหน้าที่น้อยมาก

ตนเองขอพูดถึงระบบการปกครองตามต่างจังหวัดมีตั้งแต่ผู้ว่าฯจังหวัด มาผู้การตำรวจจังหวัด มาหน่วยงานต่างๆ เมื่อเรียกประชุมการป้องกันเงินนอกระบบระดับจังหวัด ซึ่งจังหวัดในปัจจุบันเริ่มใหญ่ขึ้นเริ่มแตกแขนงหน่วยงานหลายพื้นที่ เช่นเรียกประชุมการป้องกันเงินนอกระบบ สรรพากรที่มีอยู่หลายพื้นที่จะให้พื้นที่ไหนเป็นผู้เริ่มเรียกประชุม ซึ่งก็ตกลงกันไม่ได้จึงไม่ค่อยได้มีการประชุมเรื่องนี้เท่าที่ควร

นี่คือเหตุที่แชร์ลูกโซ่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด เพราะขาดการป้องกันและการช่วยเหลือที่ดี ผู้เสียหายต้องออกมาแจ้งความ มารวมตัวร้องเรียนเอง ทั้งที่หน่วยงานรัฐสามารถเร่งดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว อาทิ สรรพากรเข้าตรวจสอบบริษัทที่เปิดโดยไม่มีการดำเนินธุรกิจจริงก็สั่งจับตรวจสอบ สั่งปิดได้ทันที

ทั้งที่ผ่านมามีคดีแชร์หลอกลวงประชาชนมามากมาย นอกจากที่กล่าวข้างต้นก็ยังมี แชร์แม่มณีปี 2562 คดีโชกุนปี2560 คนที่ถูกหลอกก็ไม่มีทางรู้ความเคลื่อนไหวของบริษัทหลอกลวงพวกนั้น นอกจากหน่วยงานรัฐลงตรวจสอบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงสั่งให้คดีแชร์ลูกโซ่เป็นวาระแห่งชาติ วันที่ 7 ตค.2560 แต่ก็ยังแก้ปัญหาแชร์ลูกโซ่ไม่ได้ นั่นเพราะไม่มีหน่วยงานตรงที่จะเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้ และ กระบวนการคืนทรัพย์ต้องไว เพราะเป็นทรัพย์ผู้เสียหายไม่ใช่ทรัพย์ของรัฐ ถ้าอาชญากรรมประเภทนี้เข้ามาหลอก ได้เงิน เหลือเงิน อาชญากรรมประเภทนี้จะไม่มีทางหมด เพราะงั้นเราต้องตัดกระบวนการทรัพย์ให้เร็ว อีกเรื่องคือเรื่องของโทษ ต้องแรง ผู้ต้องหาจะได้เกรงกลัว สมัยก่อนมีการตัดมือ ตัดเท้าผู้ทำผิด แต่เดี่ยวนี้มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเข้ามา แต่เราสามารถคุ้มครองสิทธิ ให้คนทุกคนอยู่ร่วมกันได้ไม่คดโกงไม่เอาเปรียบนั่นคือกฏหมายต้องคุ้มครองรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย

ซึ่งถ้าประเด็นทั้งสามข้อนี้ทางรัฐบาลได้ร่างกกหมายขึ้นมาใหม่เชื่อว่าผู้ก่อคดีแชร์ลูกโซ่จะแทบไม่มี แล้วเมื่อเวลาผ่านไปแชร์ลูกโซ่ก็จะสูญพันธ์ไปจากประเทศไทยในที่สุด 

Share on Google+
หนังสือพิมพ์ออนไลน์
เศรษฐกิจในประเทศ