ทั้งนี้ บุ้ง ทะลุวัง ได้ถูกขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 2567 จากนั้น บุ้ง ประกาศอดอาหารและน้ำประท้วง ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2567
อย่างไรก็ตาม ขณะถูกคุมขัง บุ้ง ทะลุวัง ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาขอบริจาคร่างกาย ไว้เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2567 มีใจความว่า “ทำที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ข้าพเจ้านางสาวเนติพร หนังสือฉบับนี้ทำขึ้นเพื่อแสดงเจตนาของข้าพเจ้า ซึ่งถูกคุมขังอยู่ตามหมายขังของศาลอาญากรุงเทพใต้ และขณะนี้กำลังทำการอดอาหารและน้ำเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบตุลาการและกระบวนการยุติธรรมของไทย
ในการอุทิศร่างกายดังกล่าวขอความกรุณาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุณารับร่างของข้าพเจ้าไว้ แม้จะไม่สามารถเดินทางมากรอกข้อมูลและยื่นเอกสารด้วยตนเองได้ ด้วยเหตุผลส่วนตนและเหตุผลจากการที่ถูกคุมขังอยู่ภายใต้การควบคุมของราชทัณฑ์ ทั้งนี้ หากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะทำการรับร่างของข้าพเจ้าไว้ ก็จักเป็นการขอบพระคุณยิ่ง และต้องขออภัยหากหนังสือแสดงเจตนาของข้าพเจ้าได้สร้างความเดือดร้อนให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยประการใด
ขอแสดงความนับถือเป็นอย่างสูง ในกิจการที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้ยืนหยัดช่วยเหลือประชาชนตลอดมา คุณความดีใดที่ได้จากการอุทิศร่างกายในครั้งนี้ ขอส่งให้กับประชาชนที่ยากลำบากทุกคน และขอให้ไม่มีความเหลื่อมล้ำในประเทศ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า”
ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า บุ้ง ได้ทำเอกสารบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ แต่หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ทราบจากแพทย์ว่าร่างของบุ้งไม่สามารถบริจาคเป็นอาจารย์ใหญ่ได้ เนื่องจากผิดเงื่อนไขของการบริจาค เพราะร่างของบุ้ง จะต้องผ่าชันสูตรพลิกศพ หาสาเหตุการเสียชีวิตอย่างละเอียด
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตนาต้องการบริจาคร่างกายของตนภายหลังจากที่ตายแล้ว โดยขอยุอุทิศร่างนี้ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อการศึกษาและวิจัย เพื่อนำร่างข้าพเจ้าไปใช้ทำประโยชน์ เป็นการเผยแพร่ความรู้ถึงภาวะที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์เมื่อเกิดการอดอาหารขึ้น