ไทย เอสพีเอส นิวส์ เป็นเว็บข่าวเพื่อมวลชน เจาะลึก ทันเหตุการณ์ โดยสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่ฯ ชี้กฏหมายฉ้อโกง สมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ บทลงโทษแรงกว่าปัจจุบัน
(อ่านแล้ว 218 ครั้ง)
Share on Google+

 

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย ได้ถูกเชิญร่วมสัมภาษณ์รายการ Inside รัฐสภา ทางวิทยุรัฐสภา FM.87.5 Mz. ระบบ AM 1071 ในหัวข้อกลโกงแชร์ลูกโซ่สมัยใหม่ เทรดหุ้น Forex-3D โดยมีนายณรงค์ฤทธิ คิดเห็น เป็นผู้ดำเนินรายการ

ล่าสุดวันที่ 13 ก.ย.65 นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ได้โพสต์ทางเฟซบุ้คส่วนตัวถึงเรื่องดังกล่าว ที่ได้ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหาย ประชาชนทั่วไปจนถึง หน่วยงานราชการ โดยมีใจความว่า

วันนี้ผมได้สัมภาษณ์รายการวิทยุรัฐสภา  ผมได้เล็งเห็นว่าทำอย่างไรให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนคนไทยต้องไม่ถูกหลอกลวง  ถูกฉ้อโกง  จากปัญหาแชร์ลูกโซ่ ผมจึงอยากมองย้อนไปในอดีตปัญหาแชร์ลูกโซ่ในอดีต  ในสังคมไทยโบราณมีมั้ย  พอย้อนไปดูสมัยกรุงศรีอยุธยา นั้นไม่มีปัญหานี้  มีอย่างมากคือการปล้นสะดมซึ่งโทษสูงมาก และ  การลักทรัพย์ฉ้อโกงก็มีกฏหมายบัญญัติโทษไว้สูง  ผมขอเริ่มเขียนย้อนไปใน  ความผิดฐานฉ้อโกงของไทยเริ่มมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการตรากฎหมายเรื่อง"ฉ้อ" ไว้ในพระไอยการอาญาหลวง ซึ่งประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 1895 แต่ต่อมาถูกยกเลิกโดยกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 รวมเวลาใช้กฎหมายนี้ประมาณ 556 ปี   สำหรับเนื้อหาของความผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 นี้ ยังคงใช้ตามที่บัญญัติไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่มีการจัดปรับปรุงใหม่ให้มาอยู่ในที่เดียวกันไม่ให้กระจัดกระจายออกไป เช่น ในพระไอยการลักษณะโจร บทที่ 112 บัญญัติว่า  "เจ้าของทองเงินเขาตกเขาหล่น ผู้ใดเก็บได้และผู้อื่นมิใช่ของตนมาว่าเป็นของตนตก  หายก็ดี ฝังไว้ก็ดี มาอธิบายเอาทรัพย์นั้นไป อยู่มามีเจ้าของแท้ออกมาว่าก็ดี เมื่อพิจารณาเป็นสัตย์ว่ามิใช่ทรัพย์ของตนและตนเองเท็จมุสาวาทว่าดังนั้น ท่านว่าคือคนร้ายฉ้อเอาทรัพย์ท่านและให้เอาทรัพย์นั้นตั้งไหมทวีคูณทำเป็น 3 ส่วน และให้เป็นของหลวงส่วนหนึ่ง ให้เจ้าของส่วนหนึ่งและให้แก่ผู้ได้อีกส่วนหนึ่ง"  ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกประกาศลักษณะ

ฉ้อ ร.ศ. 119  ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญาที่มีการวางแนวทางของความผิดฐานฉ้อโกงให้ เป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยผู้ร่างได้แนวความคิดมาจากหลักกฎหมายอังกฤษ มีการแบ่งแยกความ  รับผิดทางแพ่งและทางอาญาออกจากกัน เช่น มีการลงโทษผู้ฉ้อในทางอาญาและในขณะเดียวกัน ผู้เสียหายอาจเรียกค่าชดใช้ในส่วนที่ตนเสียไปในทางแพ่งได้อีก ไม่ใช่ให้ผู้เสียหายได้รับเงินส่วนแบ่งจากเงินปรับไหมเข้าหลวงเช่นแต่ก่อน ตามประกาศฉบับนี้วางหลักไว้ในมาตรา 1 ว่า ผู้ใดหลอกลวงเอาเงินหรือของจากผู้อื่น โดยจงใจที่จะฉ้อ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 เท่า หรือทั้งจำ  ทั้งปรับ และอธิบายคำว่า "หลอกลวง" ไว้ในมาตรา 2 ว่า หมายถึง การกระทำโดยวาจาก็ดี โดย หนังสือก็ดี กิริยาก็ดี ให้เขาเข้าใจว่าการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นไปหรือเกิดขึ้นหรือมีอยู่ ผิดไปจาก ความเป็นจริง แต่การหลอกลวงในการที่ตั้งใจว่าจะทำอะไรในเบื้องหน้านั้น ไม่เรียกว่าหลอกลวง  แต่เรียกว่าไม่ทำตามปฏิญาณ นอกจากนี้ ในมาตรา 3 ยังได้อธิบายคำว่า "เอามาได้จากผู้อื่น" ว่า เป็นการเอาไปเองหรือหลอกให้เขาไปให้ผู้อื่น และมีเจตนาที่จะไม่ให้เจ้าของได้คืนไปเลย

 

 

ดังนั้นผมขออนุญาตหยิบยกกฏหมาย  ร.ศ.119  มาประกอบ  โดยผมขออนุญาตใช้คำโบราณ  โดยไม่ตัดแต่งข้อความ  เพื่อให้เพื่อนๆพ่อแม่พี่น้องได้อ่านกฏหมายและเข้าใจ  ( บางคำอาจจะใช้ไม่เหมือนปัจจุบัน  )  โดยมีการประกาศใช้ในสมัยรัชกาลที่มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ด้วยแต่ก่อน ถ้าราษฎร​ผู้ใดได้หลอกฉ้อทรัพย์สมบัติของผู้อื่นโดยประการต่าง ๆ แล้ว ผู้ที่ต้องเสียทรัพย์ทั้งหลายก็ฟ้องร้องเรียกเงินปรับเปนสินไหมพินัย ถ้าผู้ฉ้อไม่มีเงินให้ ก็มีวิธีจำเร่งซึ่งเปนโทษอาญากลาย ๆ ครั้นได้มีพระราชบัญญัติยอมอนุญาตให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ การจำเร่งเงินก็เปนอันเลิกไป ผู้ฉ้อผู้โกงจึงมีใจกำเริบขึ้น ถือว่า ถ้าฉ้อเขามาได้ โทษก็เพียงแต่ต้องให้ของเขาคืน ไม่ต้องถูกเร่งจำจองเปนโทษอาญาอย่างไร สมควรที่จะให้มีกฎหมายทำโทษผู้ร้ายเช่นนี้ไว้บ้าง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป ถ้าผู้ใดประพฤติตนดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ ให้มีโทษดังที่ได้บ่งไว้ มาตรา 1 ถ้าผู้ใดหลอกลวงเอาเงินฤๅของมาได้จากผู้อื่นโดยจงใจที่จะฉ้อแล้ว ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ฤๅปรับไม่เกินจัตุรคูณ ฤๅทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 2 คำที่ว่า หลอกลวง นั้น คือ หลอกลวงโดยวาจาก็ดี โดยหนังสือก็ดี โดยกิริยาก็ดี ให้เขาเข้าใจว่า การอย่างใดอย่างหนึ่งได้เปนไป ฤๅเกิดขึ้น ฤๅมีอยู่ผิดจากที่เปนจริง แต่หลอกลวงในการที่ว่า ตั้งใจจะทำอะไรในเบื้องน่านั้น ไม่เรียกว่า หลอกลวง เรียกแต่ว่า ไม่ทำตามคำปฏิญาณ มาตรา 3 เอามาได้จากผู้อื่น นั้น คือ จะเอามาเอง ฤๅหลอกให้เขาให้ไปแก่ผู้อื่น แลมีเจตนาที่จะไม่ให้เจ้าของได้คืนไปเลย มาตรา 4 ถ้าผู้ใดหลอกขาย หลอกแลก ฤๅหลอกให้เปนประกัน เช่น จำนำ แลขายฝาก เปนต้น ที่ดินโรงเรือนซึ่งพึงเคลื่อนจากที่ไม่ได้ โดยที่ทราบว่า ที่ดินโรงเรือนนั้นหาใช่ของตนไม่ แลโดยที่มีความประสงค์จะฉ้อเอาผลประโยช แลได้รับผลประโยชนมาบ้างแล้ว ดังนี้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ฤๅให้ปรับไม่เกินจัตุรคูณ ฤๅทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 5 ถ้าผู้ใดหลอกขาย หลอกแลก หลอกให้เปนประกัน เช่น จำนำ ฤๅขายฝาก เปนต้น ที่ดินโรงเรือนซึ่งพึงเคลื่อนจากที่ไม่ได้ แต่ที่ดินโรงเรือนนั้นตนได้ให้เปนประกัน เช่น จำนำ ฤๅขายฝาก ไว้แก่ผู้อื่นครั้งหนึ่งแล้ว หาบอกความสำคัญนี้ ให้ผู้ซื้อ ผู้แลก ผู้รับประกัน จำนำ ขายฝาก ภายหลังทราบไม่ โดยที่มีความประสงค์จะฉ้อผลประโยชน์ แลได้รับผลประโยชน์มาบ้างแล้ว ดังนี้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ฤๅปรับไม่เกินจัตุรคูณ ฤๅทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 6 ผู้ที่ถูกฉ้อมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์ที่มันได้ฉ้อไปได้ แต่จะต้องฟ้องครั้งเดียว จะเปนความอาญาอย่างเดียวก็ดี ฤๅแพ่งเรียกทรัพย์คืนก็ดี ฤๅทั้งอาญาแลแพ่งรวมกันก็ดี แต่ถ้ากรมอัยการฟ้องทางอาญาแล้ว ผู้ที่ถูกฉ้อจะฟ้องแพ่งรวมสำนวนกับสำนวนกรมอัยการก็ได้ ฤๅจะฟ้องเปนคดีของตนต่างหากก็ได้ อย่างไรก็ดี จะเปนแพ่งฤๅอาญา ต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้ทราบความ มาตรา 7 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ได้แต่เรื่องที่ได้ฉ้อกันภายหลังวันนี้ไป โดย

 ประกาศมา ณ วันที่ 25 กันยายน รัตนโกสินทรศก 119 เป็นวันที่ 11641 ในรัชกาลปัจจุบันนี้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสมัยก่อนนั้นเป็นหนี้ ฉ้อโกง  หลอกลวงมาต้องใช้เงินคืน  และ  ถูกปรับ 

ผมขอหยิบยกเรื่องโทษทางอาญาในสมัยอยุธยามาฝากอีกกรณีจะได้เห็นภาพ  ผมขอหยิบยกข้อความบางส่วนจากหนังสือ “เรื่องกฎหมายเมืองไทย” ฉบับพิมพ์ของหมอบลัดเลใน “พระราชกำหนดเก่า” จุลศักราช 1094 (พ.ศ.2275) ได้บัญญัติไว้ว่าถ้าจับ “อ้ายผู้ร้าย” ไม่ได้ก็ให้จับลูกเมีย พ่อแม่ พี่น้อง พ่อตา แม่ยาย พวกพ้องเพื่อนฝูงมาจำแทน โดยถ้าเป็นชายก็ให้ใส่คาไว้ถ้าเป็นหญิงก็ให้ใส่ขื่อไว้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคุกกับตะรางเมื่อก่อนนั้นมีความหมายต่างกันคือ คุกใช้สำหรับกักขังนักโทษส่วนตะรางใช้สำหรับขังเมียของนักโทษ  เพราะถ้าจับคนร้ายไม่ได้ก็ให้จับลูกเมียมาลงโทษแทน 

นอกจากนั้นยังบัญญัติการลงโทษอีกว่า ถ้าโทษปล้นสะดมครั้งหนึ่งให้ตัดหูข้างหนึ่ง ถ้าครั้งสองให้ตัดหูอีกข้างหนึ่งถ้าครั้งที่สามให้ฆ่าเลย ส่วนโทษเบาลงก็ให้สักหน้าสักอกแล้วให้ติดพวงคือเป็น “คนพวง” จ่ายใช้ราชการในคุก นอกคุกเฉพาะเวลากลางวันส่วนกลางคืนให้จำใส่คุกไว้ แต่โทษปล้นสะดมให้จำคุกไว้ทั้งกลางวันกลางคืนคือ ห้ามไม่ให้พาออกมานอกคุกอย่างเด็ดขาด  แต่ถ้า  ถ้าโทษลักพระราชทรัพย์ในพระราชวัง โดยซื้อขายกันในพระราชวังให้ตัดตีนตัดมือ ให้ตัดตรงคุ้งข้อหรือที่ข้อตีนข้อมือ ถ้าลักออกไปนอกพระราชวังให้ฆ่าทั้งโจรและนายประตู “ถ้าทรงพระกรุณา บ่ให้ฆ่าตาย ให้ไหมโจรจัตรคูณ

ดังนั้น “คนพวง” ที่ทางคุกจ่ายออกมาทำงานนอกคุกบางคนจึงเป็นคนพิการ หูขาด มือขาด หลังลาย เพราะถูกทวน (ตี) ด้วยลวดหนังและผอมโซด้วยความอดอยาก

คุกกับตะรางเมื่อก่อนนั้นมีความหมายต่างกันคือ คุกใช้สำหรับกักขังนักโทษส่วนตะรางใช้สำหรับขังเมียของนักโทษ

อนึ่งในพระราชกำหนดเก่าได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ถ้าอ้ายผู้ร้ายลักของพระหรือโจรปล้นสะดมลักช้าง ม้า รับเป็นสัตย์ให้ขังคุกไว้และจำ 5 ประการคือ คา, โซ่, ตรวน ร้อยคอและร้อยเท้าจนกว่าจะตาย เท่ากับติดคุกไม่มีวันออกนั่นเอง

นอกจากนั้นยังบัญญัติการลงโทษอีกว่า ถ้าโทษปล้นสะดมครั้งหนึ่งให้ตัดหูข้างหนึ่ง ถ้าครั้งสองให้ตัดหูอีกข้างหนึ่งถ้าครั้งที่สามให้ฆ่าเลย ส่วนโทษเบาลงก็ให้สักหน้าสักอกแล้วให้ติดพวงคือเป็น “คนพวง” จ่ายใช้ราชการในคุก นอกคุกเฉพาะเวลากลางวันส่วนกลางคืนให้จำใส่คุกไว้ แต่โทษปล้นสะดมให้จำคุกไว้ทั้งกลางวันกลางคืนคือ ห้ามไม่ให้พาออกมานอกคุกอย่างเด็ดขาด

พอเรามาตัดมาในยุคที่เป็นทุนนิยม  เสรีประชาธิปไตย กฏหมายกับเบาเหมือนปุยนุ่น  ทำผิดวันนี้  กว่าจะลงโทษอีกเป็นสิบปี  กว่าผู้เสียหายที่ถูกฉ้อโกงทรัพย์ไปจะได้คืนนั้นต้องรอหลังจากคดีถึงที่สุด  ก็รอนานไปอีกสิบปี  ( ตามกฏหมายปัจจุบันผู้เสียหายมีสิทธิสืบทรัพย์ตามคำพิพากษา  10ปี  ) หาไม่เจอก็เป็นหนี้สูญถึงแม้จะมีกฏหมายฟอกเงินมาช่วย  แต่คดีฉ้อโกงประชาชนเป็นเพียง1ใน28ความผิดมูลฐานฟอกเงิน ดังนั้นจึงยากมากที่ผู้เสียหายจะได้เงินคืนครบ ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่ต้องชดใช้คืนให้ครบ   ไม่งั้นติดคุกติดตะรางไม่ได้ออกมา 

ขนาดในสมัยกรุงศรีอยุธยายังไม่มีความเสียหายแบบแชร์ลูกโซ่เหมือนในปัจจุบัน  สมัยนั้นความเสียหายที่เยอะก็น่าจะเป็นการปล้นสะดม  ผมก็ยกให้เห็นแล้วว่าแค่ลักม้า  ลักช้าง  ให้จำคุกไว้จนตาย  ขนาดรับสารภาพแล้วนะ  ไม่มีลดโทษครึ่งนึงแบบในยุคปัจจุบัน

ผมจึงไม่แปลกใจว่าทำไมในยุคทุนนิยม  ในยุคปัจจุบันการหลอกลวงจึงมีมากขึ้น  เพราะกฏหมาย  บทลงโทษไม่ทันกับอาชญากรรมที่แปรเปลี่ยนไป

ดังนั้นทั่วโลกจึงมีกฏหมายคุ้มครองคนในประเทศ  ป้องกันเงินในประเทศถูกเอาออกไป

ถึงแม้ในปัจจุบันผมก็ยอมรับว่า  พณฯพลเอก  เปรม ติณสูลานนท์  อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฏหมาย  พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน  พ.ศ.2527 

โดยความเป็นมา   รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับ  ความเสียหายจากการถูกหลอกลวงในการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงิน ก่อนที่จะมีพระราชกำหนดฉบับนี้ กระทรวงการคลังได้จัดให้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระทรวงการคลัง

กระทรวงมหาดไทย และกรมตำรวจในสมัยนั้น เพื่อกำหนดมาดรการป้องกัน โดยในชั้นแรกจะว่างพระราชกำหนดการเล่นแชร์  ซึ่งกำลังรอการจัดวาระเพื่อพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรมาแก้ไข รวมถึงการห้ามลงทุนนอกระบบที่มีการดำเนินการที่ไม่เปิดเผย และมีความเสี่ยงสูง หรือมีลักษณะที่นำเงินจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนรายเก่า แต่ต่อมาพิจารณาความเหมาะสมและเร่งด่วนที่จะห้ามมีให้มีการประกอบกิจการกู้ยืมเงินที่มีการให้ดอกเบี้ยสูง และรวมถึงการปราบทรัสต์เถื่อนด้วยกระทรวงการคลังจึงได้พิจารณายกร่างพระราชกำหนดกิจการอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ขึ้น เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี และในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2527

 

Share on Google+
หนังสือพิมพ์ออนไลน์
เศรษฐกิจในประเทศ