(อ่านแล้ว 551 ครั้ง)
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 น.ดร.ชยันต์พิสิฐ สมานสวน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเเละสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย, พลเอก เดชา ปุญญบาล ประธานมูลนิธิร่วมใจสำนึกไทย และประธานที่ปรึกษาสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย, นายธนณัฐ อาจิณกิจ นายอำเภอพัฒนานิคม, รศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์นายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย, นายมงคล จงใจลาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนาวหวาน,
ดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ, นายสมบูรณ์ อินเฉลียว กำนันตำบลมะนาวหวาน, นางนรินทร์ฑมาศ สีบูลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านมะนาวหวาน, นายพงษ์ สุขคล้าย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 และผู้นำชุมชนตำบลมะนาวหวาน ได้ร่วมกันแถลงข่าวการกิจกรรม“ดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล”ครั้งที่ 1 ณ บริเวณลานชมวิวด้านหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลมะนาวหวาน
ดร.ชยันต์พิสิฐ สมานสวน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวฯ กล่าวว่าวันนี้สมาคมผู้สื่อข่าวฯ ได้มาจัดแถลงข่าวการกิจกรรมจัดงาน “ดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล”ครั้งที่ 1 ซึ่งแนวคิดการจัดงานดังกล่าวเกิดจากการที่ทีมงานของสมาคมผู้สื่อข่าวฯ ได้เข้ามาเห็นความสวยงามของธรรมชาติท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ทางคณะผู้บริหารสมาคมฯ จึงได้หารือกันถึงแนวทางที่จะประชาสัมพันธ์ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักและมาสัมผัสความงดงามและเพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจลงสู่ชุมชน ตามนโยบายของรัฐบาล สมาคมผู้สื่อข่าวฯ และทีมงานจึงได้มาหารือกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนและท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนาวหวาน หลังจากนั้นได้ไปหารือกับนายธนณัฐ อาจิณกิจ นายอำเภอพัฒนานิคม เมื่อประมาณ 5-6 เดือนที่ผ่านมา ถึงแนวทางการจัดกิจกรรม“ดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล”ครั้งที่ 1 และได้กำหนดการจัดงานในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งในวันนี้ผมได้เชิญท่านพลเอก เดชา ปุญญบาล ประธานมูลนิธิ ร่วมใจสำนึกไทย และประธานที่ปรึกษาสมาคมผู้สื่อข่าวฯ มาเป็นประธานในพิธีแถลงข่าวด้วย และเชิญนายธนณัฐ อาจิณกิจ นายอำเภอพัฒนานิคม นายกองค์บริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนตำบลมะนาวหวาน มาร่วมในการแถลงข่าวด้วยครับ
พลเอก เดชา ปุญญบาล ประธานมูลนิธิ ร่วมใจสำนึกไทย และประธานที่ปรึกษาสมาคมผู้สื่อข่าวฯ กล่าวว่าการที่สมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย ได้มาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในลักษณะดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 1ในพื้นที่ท้ายเขื่อนตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจลงสู่ชุมชนตามนโยบายหลักของทางรัฐบาลฯ ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากครับ ซึ่งพื้นที่ท้ายเขื่อนตำบลมะนาวหวานนั้นตามที่ผมดูข้อมูลย้อนหลังจะเห็นว่าช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี น้ำจะลดลงระดับลงไปจนทำให้เกิดเป็นลานทุ้งหญ้าเป็นร้อยเป็นพันไร่ ทำให้เกิดความงดงามของธรรมชาติท้ายเขื่อน การที่สมาคมผู้สื่อข่าวฯ ได้จัดกิจกรรม“ดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล”ครั้งที่ 1 ด้วยความร่วมมือกับท้องถิ่นโดยเฉพาะนายมงคล จงใจลาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนาวหวาน กำนันตำบล ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนตำบลมะนาวหวาน และท่านนายอำเภอพัฒนานิคม นายธนณัฐ อาจิณกิจ และในวันนี้ยังมีท่านนายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทยรศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ และท่านดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ มาร่วมในการแถลงข่าววันนี้ด้วย สำหรับการจัดงานกิจกรรมหลักๆ คือการกางเต็นท์ชมการแสดงดนตรี จากศิลปินมากมายอาทิเช่น ไววิทย์, ไม้หมอน, มานพ, เรนิษรา, only monday เป็นต้น และรายได้ส่วนหนึ่งหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะนำมาช่วยในการให้ทุนการศึกษาและจัดหาอุปกรณ์การศึกษาโรงเรียนบ้านมะนาวหวาน และให้ทุนสนับสนุนศูนย์เด็กเล็กบ้านมะนาหวาน ซึ่งก็เป็นการส่งเสริมทางด้านการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย และบางส่วนสมาคมผู้สื่อข่าวฯ ก็จะนำไปช่วยเหลือในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งทางสมาคมผู้สื่อข่าวฯ และมูลนิธิร่วมใจสำนึกไทย ได้ร่วมกันทำมาอยู่แล้วโดยตลอด ในการเข้าไปดูแลและช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเกิดอุทกภัยวาตภัย และการรับเรื่องร้องเรียนทุกข์จากช่วยเหลือประชาชนซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมในทุกด้าน ที่เกิดจากการกระทำของภาครัฐ หรือผู้มีอิทธิพล เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม
และวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ก็เพื่อให้พวกเราได้รับทราบในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นโครงการที่เกิดจากพระราชดําริของพระองค์ท่านเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน และยังใช้เป็นที่ชะลอน้ำในช่วงฤดูฝนช่วยไม่ให้ป้องกันไม่ให้อุทกภัยพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี ยังมีผลช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยารวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วย เขื่อนป่าสักชลสิทิ์ ทำให้ประชาชนและเกษตรกรมีน้ำในการทำการเกษตรได้ทั้งปี และทำให้ไม่ขาดแคลนน้ำในการปริโภคด้วย โดยพระองค์ท่านได้ทรงเสด็จมาทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งก็เป็นเวลา 25 ปีมาแล้ว ผมจึงอยากให้ประชาชนคนไทยได้รับรู้เพื่อยกย่องเทิดทูลในสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อประชาชนชาวไทย ซึ่งบางท่านก็อาจจะลืมเลือนไปแล้ว ในการนี้ผมก็ขอเชิญชวนประชาชนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาร่วมในกิจกรรมดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่ 11.00 น.เป็นต้นไปจนถึงเวลา 24.00 น.ครับ
นายธนณัฐ อาจิณกิจ นายอำเภอพัฒนานิคม กล่าว่าต้องขอขอบคุณสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย และท่านพลเอกเดชา ปุญญบาล มากครับที่ได้นำกิจกรรมงานดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 1มาจัดขึ้นในตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรี เพื่อจะเป็นช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลมะนาหวาน ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตำบลมะนาวหวาน ได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อีกทั้งรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายตั๋วหรือกิจกรรมอื่นๆ แล้วสมาคมผู้สื่อข่าวฯ จะให้เป็นทุนการศึกษาและจัดหาอุปกรณ์การศึกษาโรงเรียนบ้านมะนาวหวาน และให้ทุนสนับสนุนศูนย์เด็กเล็กบ้านมะนาหวาน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ
ก็ขอเชิญชวนให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาชมความงดงามของธรรมชาติท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ครับ ทางเขื่อนฯ จะเริ่มทำการปล่อยน้ำให้ประชาชนท้ายหน้าเขื่อนได้ทำการเกษตรตั้งแต่เดือนพฤษจิกายนเป็นต้นไป พอถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อน้ำลดลงไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นทุ่งหญ้าเขียวขจีขนาดใหญ่จำนวนหลายร้อยหลายพันไร่ จนได้สมญานามว่า “ทุ่งหญ้านิวซีแลนด์เมืองไทย” ซึ่งในช่วงฤดูดังกล่าวก็จะมีชาวบ้านในพื้นที่นำแพะ นำแกะ นำวัวควาย ไปเลี้ยงตามทุ้งหญ้า ซึ่งจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาตั้งแคมปิ้งกันพักผ่อนและชมความงามของธรรมชาติท้ายเขื่อนครับ ซึ่งเมื่อเรายื่นอยู่ท้ายเขื่อนตำบลมะนาวหวาน เมื่อมองไปอีกฝั่งหนึ่งก็จะเห็นวิวพระทิตย์ตกดิน และมองเห็นเขาพระ เขาพระยาเดินธง และรถไฟลอยน้ำ ซึ่งก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของอำเภอพัฒนานิคม เมื่อมาแล้วอย่าลืมแวะไปเที่ยวนะครับ
ผมก็ขอขอบคุณสมาคมผู้สื่อข่าวฯ ที่ได้มาจัดกิจกรรมเพื่อจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลมะนาหวาน ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนนักท่องเที่ยวได้รู้จักตำบลมะนาวหวาน และคาดหวังว่าจะเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้ามาในพื้นที่ของของตำบลมะนาหวาน และพื้นที่อำเภอพนานิคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท ร้านค้าร้านอาหาร และสมาคมผู้สื่อข่าวฯ ยังได้จัดพื้นที่ให้ประชาชนตำบลมะนาวหวานให้นำสินค้าต่างๆ ไปจำหน่ายฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ผมก็ขอฝากให้ประชาชนตำบลมะนาวหวานและประชาชนอำเภอพัฒนานิคมและประชาชนพื้นที่ใกล้เคียงช่วยกันต้อนรับนักท่องเที่ยวฉันญาติมิตรเพื่อให้เกิดความประทับใจจะได้กลับมาท่องเที่ยวอีกและผมก็ขอเชิญชวนให้ทุกคนมาเที่ยวงานในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อชมการแสดงดนตรีจากศิลปินดังเช่น ไววิทย์, ไม้หมอน, มานพ, เรนิษรา, only monday ขอบคุณมากครับ
นายนายมงคล จงใจลาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนาวหวาน กล่าวว่าขอขอบคุณสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย และขอขอบพระคุณท่านพลเอก เดชา ปุญญบาล ที่เดินทางมาเป็นประธานในการแถลงข่าวจัดกิจกรรม“ดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล”ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ ผมและประชาชนตำบลมะนาวหวาน รู้สึกปราบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยตำบลมะนาวหวานเป็นตำบลเล็กๆ ในอำเภอพัฒนานิคม ซึ่งตั้งอยู่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นพื้นที่ห่างไกลจากตัวอำเภอพัฒนทนิคม จึงไม่ค่อนมีใครรู้จัก ซึ่งในระหว่างช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน น้ำจะขึ้นเต็มตลิ่งจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่กว้างใหญ่ความสวยงาม และในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน น้ำในเขื่อนจะค่อยๆ ลดระดับลงและจะเกิดเป็นทุ้งสนามหญ้าสีเขียวขจีที่งดงามท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ผมจึงขอเรียนเชิญนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ผมและประชาชนตำบลมะนาวหวานยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
ดร.ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุกข์ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่าต้องขอขอบคุณสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย ที่ได้มาจัดกิจกรรม“ดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล”ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ และขอขอบคุณท่านพลเอก เดชา ปุญญบาล ที่เดินทางมาเป็นประธานในการแถลงข่าวในวันนี้ผมในฐานะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีภาพรวมทั้งหวัด และจังหวัดข้างเคียงเช่นจังหวัดสระบุรีด้วย ผมก็หวังว่า
หลังจากกิจกรรมในครั้งนี้แล้วก็ขอให้มีครั้งต่อๆ ไปผมพร้อมสนันสนุนอย่างเต็มที่ครับ
รศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ นายกสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย กล่าวว่าพร้อมให้การสนับสนุนสมาคมผู้สื่อข่าวฯ และท้องถิ่นต่างๆ ในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ตามแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย การจัดกิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางสมาคมนักวิจัยฯ ก็จะหาแนวทางเพื่อมานำเสนอในการพัฒนาพื้นที่ท้ายเขื่อนตำบลมะนาวหวาน ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวแบบยังยืนต่อไปครับ
มาทำความรู้จักกับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สักเล็กน้อย หน้าเขื่อน ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ข้างเขื่อนบางส่วนอยู่ในเขตอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งรับน้ำจากแม่น้ำป่าสักมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในจำนวน 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำจากแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก และบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลด้วย ซึ่งนำความเดือดร้อนมาให้ราษฎรเกือบทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน ก็จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้ จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนาม เขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ห่างจากอุทยานเขาใหญ่ประมาณ 1 ชั่วโมง
ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีความงดงามทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย จนทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสัมผัสต่างให้สมญานามว่า“ทุ้งหญ้านิวซีแลนด์เมืองไทย” ซึ่งมี จุดเด่น คือ "ทุ่งหญ้า" เรียบชายหาดท้ายเขื่อนเขียวขจีสุดลูกหูลูกตาสวยงามเหมือนดังภาพในฝัน มีโค้งเว้าสลับกันเป็น texture สวยงาม มีเนื้อที่โดยรวมนับพันๆไร่ ทุ้งหญ้าจะเขียวขจีสวยงามและเตียน เพราะมีเครื่องตัดหญ้าธรรมชาติ นั่นก็คือสัตว์เลี้ยงที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้รอบบริเวณท้ายเขื่อน เช่น แกะ แพะ ม้าวัว ควาย สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมากินหญ้า จนเป็นระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ มูลของสัตว์กลายเป็นปุ๋ยซึ่งบำรุงหญ้าทำให้หญ้าขึ้นสวยสดงดงาม (มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น เพราะพื้นที่กว้างมาก และลมพัดตลอดเวลา) และยังมีความงดงามดอกกัลปพฤกษ์ (ต้นซากุระเมืองไทย) ที่ให้ดอกสวยงามเป็นสีชมพูอยู่หลายจุด มีวิวทิวทัศน์ที่มี background เป็นภูเขา ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงฤดูใบไม้ผลิต จนเกิดคำนามว่า "น้ำ 5 หญ้า 7"ความหมายคำว่า“น้ำ 5” คือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะทำการกักเก็บน้ำในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 5 เดือน (ช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน ) ทำให้น้ำขึ้นเต็มตลิ่งกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่กว้างใหญ่ ให้ความสวยงาม จึงเป็นที่ชื่นชอบสำหรับคนที่ชอบกิจกรรมทางน้ำเช่น การเล่นเจ็ตสกีและตกปลา ความหมายคำว่า “หญ้า 7” คือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะเริ่มทยอยปล่อยน้ำเพื่อให้เกษตรกรหลังหน้าเขื่อนได้ใช้น้ำในการทำเกษตรกรรม น้ำจะค่อยๆ ลดระดับลงและเริ่มเกิดเป็นทุ่งสนามหญ้าสีเขียวขจีสวยงาม เป็นระยะเวลา 7 เดือน (ตุลาคม - เมษายน) และหลายคนอาจมี “คำถาม” ว่าน้ำขึ้นเต็มตลิ่งตั้งหลายเดือนหญ้าจะไม่ตายหมดหรือ และทำไมยังกลับมาเขียวได้ทุกปี ? นี้คือความลับของทุ่งหญ้าท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ของธรรมชาติจนหลายๆ คนสงสัย “คำตอบ” เพราะหญ้าในทุ่งหญ้าแห่งนี้มีความทนทานเป็นพิเศษ ซึ่งอยู่คู่กับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาตั้งแต่วันแรกที่เขื่อนเกิด จึงทำให้มีการปรับสภาพควบคู่กันมา เมื่อน้ำขึ้นเต็มเขื่อนหญ้าก็จะจำศีลเป็นเหง้าหรือเป็นเมล็ดฝังอยู่ในดินใต้น้ำ และเมื่อน้ำค่อยๆ ลดลงหญ้าก็งอกเงยขึ้นมาเขียวขจีอยู่แบบนี้มาโดยตลอด และที่สำคัญหญ้าที่นี่เปลี่ยนสีได้ 3 สีตามช่วงฤดูกาล มีทั้งสีเขียว สีเหลืองทอง สีชมพู ทำให้เกิดความสวยงามของธรรมชาติที่ท่านไม่เคยเห็น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หลายเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทำให้เกิด “อาชีพประมง” ชาวบ้านบางส่วนจากเดิมที่ทำไร่ทำสวน ก็เปลี่ยนอาชีพมาทำการประมง หาปลาหากุ้งแม่น้ำสดๆ นำมาจำหน่ายที่ท่าปลาริมเขื่อนเป็นรายได้เพื่อเลี้ยงชีพและครอบครัว นักท่องเที่ยวสามารถที่ซื้อปลาที่ท่าปลา หรือขอซื้อจากเรือประมงได้ในราคาถูก ในช่วงเช้าและช่วงเย็นนักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปวิวเรือประมงวิ่งอยู่ และสัตว์เลี้ยงเช่น แพะ แกะ วัว ควาย หากินหญ้าตามทุ้งหญ้าที่เขียวขจี และสิ่งที่นักท่องเที่ยวพลาดไม่ได้คือต้องมาถ่ายรูปในช่วงพระอาทิตย์ตกจะมองเห็นดวงอาทิตย์สีแดงดวงใหญ่เคลื่อนลงไปสู่น้ำทำให้น้ำสะท้อนแสงอาทิตย์ออกมาเหมือนภาพวาดที่สวยมาก และมีbackground เป็นภูเขา ทำให้เกิดเป็นภาพประทับใจไม่รู้ลืม และในช่วง "ฤดูหนาว" บรรยากาศจะดีมากเนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากอำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้ลมที่พัดมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำให้อากาศท้ายเขื่อนฯ บริสุทธิ์ทั้งปี บางวันลมหนาวเย็นจะไหลผ่านผิวน้ำของเขื่อนและเกิดเป็นหมอกไอน้ำที่สวยงาม ขึ้นมาบนพื้นถนนริมท้ายเขื่อน อุณหภูมิกลางคืนต่ำถึง 14-17 องศา จนต้องก่อไฟผิง และในช่วงเวลากลางคืนเมื่อเรามองไปบนท้องฟ้าจะมองเห็น“ดวงดาว” ได้ชัดมากจนมองเห็นทางช้างเผือก เพราะช่วงท้ายเขื่อนฯ ไม่มีไฟส่องแสงสว่างมากนัก ลองมาเห็นและมาสัมผัสความงดงามของธรรมชาติด้วยตัวคุณเอง
สมาคมผู้สื่อข่าวฯ คาดหวังว่าการจัดงานกิจกรรมในครั้งนี้จะช่วยทำให้ประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้รู้จักและเดินทางมาชมความงดงามของธรรมชาติท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งด้านหน้าเขื่อน ด้านข้างเขื่อน และเพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้กับประชาชนตำบลมะนาวหวาน ประชาชนอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และพื้นที่ไกล้เคียง ซึ่งสมาคมผู้สื่อข่าวฯ ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ด้วยธรรมาภิบาลในทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย สมาคมผู้สื่อข่าวฯ ไม่ได้แสวงหาผลกำไรใดๆ การจัดกิจกรรมดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล ในครั้งนี้คาดหวังให้เป็นตัวอย่างให้แหล่งท่องเที่ยวตามชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้นำไปใช้เป็นแบบอย่าง และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าของเขื่อนกักเก็บน้ำทุกแห่งในประเทศไทย ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประชาชนชาวไทยในทุกด้าน
สมาคมผู้สื่อข่าวฯ จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศทุกท่าน ได้เดินทางมาเที่ยวและชมดนตรีแนวแคมปิ้งนั่งเขื่อนมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 ช่วงระหว่างเวลา 10.00 - 24.00 น. ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ช่วงบริเวณฝั่งตรงข้ามกับ นิวซีแลนด์ เมืองไทย ซึ่งภายในงานจะมีการตั้งแคมป์ ฟังดนตรี และกิจกรรมต่างๆ โดยมีศิลปินมากมายอาทิเช่น ไววิทย์, ไม้หมอน, มานพ, เรนิษรา, only monday เป็นต้น จำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงดนตรี
ในราคาเพียง 499 บาท เท่านั้น ซื้อบัตรและติดตามรายละเอียดข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ได้ที่ เพจ:นั่งเขื่อน. และ
www.JMST2019.COM /สมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย